เมนู

3. ทุติยอิสิทัตตสูตร



ว่าด้วยอิสิทัตตภิกษุพยากรณ์ปัญหา



[546] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน
ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระ
ทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้อาราธนา
ว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ ขอพระเถระทั้งหลายโปรดรับภัตตาหารของ
กระผมในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้ง
นั้นแล จิตตคฤหบดีทราบการรับอาราธนาของภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว
ลุกจากอาสนะ ไหว้กระทำประทักษิณแล้วจากไป.
[547] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปเป็นเวลาเช้า ภิกษุผู้เถระ
ทั้งหลาย นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรพากันเข้าไปยังนิเวศน์ของจิตตคฤหบดี
แล้วนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้ถวาย ครั้งนั้นแล จิตดคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุ
ผู้เถระทั้งหลาย ไหว้แล้วจึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถาม
พระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่างย่อมเกิด
ขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มี
ที่สุดบ้าง ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นบ้าง
สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้ว
ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้
ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง ( ก็ทิฏฐิ 62 อย่างเหล่านี้ ได้กล่าวไว้ใน
พรหมชาลสูตร ) ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไร
ไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้ จึงไม่มี.

[548] เมื่อจิตตคฤหบดีได้ถามอย่างนี้แล้ว พระเถระผู้เป็น
ประธานได้นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ แม้ครั้งที่ 3 จิตตคฤหบดีได้ถาม
พระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่างย่อม
เกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง
โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระก็
เป็นอื่นบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกบ้าง
สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็น
อีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง แม้ครั้ง ที่ 3 พระเถระผู้เป็น
ประธานก็ได้นิ่งอยู่.
[549] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าทุกรูปใน
ภิกษุสงฆ์หมู่นั้น. ครั้งนั้นแลท่านพระอิสิทัตตะได้ขอโอกาสกะพระเถระ
เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ กระผมขอพยากรณ์ปัญหาข้อนั้น
ของจิตตคฤหบดี พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนท่านอิสิทัตตะ ท่านจงพยากรณ์
ปัญหาข้อนั้นของจิตตคฤหบดีเถิด ท่านอิสิทัตตะได้ถามว่า ดูก่อนคฤหบดี
ท่านถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฏฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้น
ในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มี
ที่สุดบ้าง ฯลฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฏฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไร
ไม่มี ทิฏฐิเหล่านี้จึงไม่มี ดังนี้หรือ. จิตตคฤหบดีกล่าวว่า อย่างนั้น
ท่านผู้เจริญ.

อิ. ดูก่อนคฤหบดี ทิฏฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลก
เที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง . . . สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ยอมไม่
เป็นอีกก็หามิได้บ้าง ( ทิฏฐิ 62 เหล่านี้ ได้กล่าวไว้แล้วในพรหมชาลสูตร)
ดูก่อนคฤหบดี เมื่อสักกายทิฏฐิมี ทิฎฐิเหล่านี้ ก็มี เมื่อสักกายทิฏฐไม่มี
ทิฏฐิเหล่านี้ก็ไม่มี.
[550] จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สักกายทิฏฐิย่อมเกิดมีได้
อย่างไร.
อิ. ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนในโลกนี้ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้า
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรม
ของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน 1 เห็นตนมีรูป 1 เห็นรูป
ในตน 1 เห็นตนในรูป 1 เห็นเวทนาโดยความเป็นตน 1 เห็นตนมี
เวทนา 1 เห็นเวทนาในตน 1 เห็นตนในเวทนา 1 เห็นสัญญาโดยความ
เป็นตน 1 เห็นตนมีสัญญา 1 เห็นสัญญาในตน 1 เห็นตนในสัญญา 1
เห็นสังขารโดยความเป็นตน 1 เห็นตนมีสังขาร 1 เห็นสังขารในตน 1
เห็นตนในสังขาร 1 เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน 1 เห็นตนมีวิญญาณ 1
เห็นวิญญาณในตน 1 เห็นตนในวิญญาณ 1 ดูก่อนคฤหบดี สักกายทิฏฐิ
ย่อมเกิดมีได้อย่างนี้แล.
[551] จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สักกายทิฏฐิย่อมไม่เกิดมีได้
อย่างไร.

อิ. ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว
ได้เห็นพระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับแนะนำในธรรม
ของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำ
ในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน 1 ไม่เห็นตนมีรูป 1
ไม่เห็นรูปในตน 1 ไม่เห็นตนในรูป 1 ไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นต้น 1
ไม่เห็นตนมี เวทนา 1 ไม่เห็นเวทนาในตน 1 ไม่เห็นตนในเวทนา 1
ไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน 1 ไม่เห็นตนมีสัญญา 1 ไม่เห็นสัญญา
ในตน 1 ไม่เห็นตนในสัญญา 1 ไม่เห็นสังขารโดยความเป็นตน 1 ไม่เห็น
ตนมีสังขาร 1 ไม่เห็นสังขารในตน 1 ไม่เห็นตนในสังขาร 1 ไม่เห็น
วิญญาณโดยความเป็นตน 1 ไม่เห็นตนมีวิญญาณ 1 ไม่เห็นวิญญาณ
ในตน 1 ไม่เห็นตนในวิญญาณ 1 ดูก่อนคฤหบดี สักกายทิฏฐิย่อมไม่เกิด
มีได้อย่างนี้แล.
จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอิสิทัตตะมาจากไหน.
อิ. ดูก่อนคฤหบดี อาตมภาพมาจากอวันตีชนบท.
จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กุลบุตรมีนามว่าอิสิทัตตะในอวันตีชนบท
เป็นสหายที่ไม่เคยเห็นกันของข้าพเจ้า ได้ออกบรรพชามีอยู่ พระคุณเจ้า
ได้เห็นท่านหรือไม่.
อิ. ได้เห็น คฤหบดี.
จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนั้นอยู่ที่ไหนหนอ.

[552] เมื่อจิตตคฤหบดีได้ถามอย่างนี้ ท่านอิสิทัตตะได้นิ่งอยู่.
จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอิสิทัตตะของข้าพเจ้า คือพระคุณเจ้า
หรือ.
อิ. ใช่ละ คฤหบดี.
จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้พระคุณเจ้าอิสิทัตตะจงชอบใจ
อัมพาฏกวันอันเป็นที่รื่นรมย์ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์เถิด ข้าพเจ้าจัก
บำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชบริขาร.
อิ. ดูก่อนคฤหบดี ท่านกล่าวดีแล้ว.
[553] ครั้งนั้นแล จิตคฤหบดีชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่าน
พระอิสิทัตตะแล้ว ได้อังคาสภิกษุผู้เถระทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญ ด้วย
ขาทนียโภชนียะอันประณีต ด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระ
ทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ลดมือจากบาตร ลุกขึ้นจากอาสนะกลับไป ลำดับ
นั้นแล พระเถระผู้เป็นประธานได้ให้โอกาสท่านพระอิสิทัตตะว่า ดีแล้ว
ท่านอิสิทัตตะ ปัญหาข้อนั้นแจ่มแจ้งกะท่าน มิได้แจ้งแจ้งกะผม ต่อไป
ถ้าปัญหาเช่นนี้พึงมีมาแม้โดยประการอื่นในกาลใด ท่านนั้นแหละพึงกล่าว
ตอบปัญหาเช่นนั้นในกาลนั้น ครั้งนั้นแล ท่านอิสิทัตตะได้เก็บเสนาสนะ
ถือเอาบาตรและจีวร เดินทางออกจากราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ไม่ได้กลับมา
อีก เหมือนกับภิกษุรูปอื่นที่ได้ออกเดินทางจากไป.
จบ ทุติยอิสิทัตตสูตรที่ 3

อรรถกถาทุติยอิสิทัตตสูตรที่ 3



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอิสิทัตตสูตรที่ 3 ตังต่อไปนี้
บทว่า อวนฺติยา คือในอวันตีชนบท. บทว่า กลฺยาณํ วุจฺจติ
ความว่า ท่านอิสิทัตตะย่อมกล่าวด้วยประสงค์ว่า ข้าแต่อุบาสกอุบาสิกา
ทั้งหลาย คำอันหมดโทษ ไม่มีโทษ อันท่านกล่าวว่าข้าพเจ้าจักบำรุงด้วย
ปัจจัยทั้งหลาย 4.
จบ อรรถกถาทุติอิสิทัตตะสูตรที่ 3

4. มหกสูตร



ว่าด้วยอิทธาภิสังขาร



[554] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราว
ป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย
ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้อาราธนาว่า ข้าแต่ท่าน
ทั้งหลายผู้เจริญ ขอพระเถระทั้งหลายจงรับภัตตาหารที่โรงโคของข้าพเจ้า
ในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล
จิตตคฤหบดีทราบการรับอาราธนาของภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว ลุกจากที่
นั่งไหว้ทำประทักษิณแล้วจากไป.
[555] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไป เป็นเวลาเช้า ภิกษุผู้
เถระทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังโรงโคของจิตตคฤหบดี ได้
นั่ง ณ อาสนะที่ได้ตกแต่งไว้ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี ได้อังคาสภิกษุผู้